web analytics
พระเครื่อง

เลี่ยมทอง ไม่ได้แปลว่าแท้เสมอไป

การเลี่ยมทอง แต่เดิมแล้วมักจะเป็นพระเก่าแก่ พระแท้ ที่เจ้าของศรัทธาเป็นอย่างมาก จึงอยากนำมาห้อยคอให้ดูมีสง่าราศี จากนั้นก็ดูกำลังทรัพย์ประกอบกับฐานะ ไม่ว่าจะเป็นเลี่ยมกันน้ำ เลี่ยมเงิน เลี่ยมทอง เลี่ยมทองฝังเพชร สุดแล้วแต่ความชอบ เสร็จแล้วก็แขวนเป็นองค์ประจำกายให้สมกับที่รักที่ศรัทธา บางท่านมีฐานะหน่อยก็เลี่ยมทองเก็บใส่กล่องไว้เป็นมรดกให้ลูกหลาน

หันมาดูปัจจุบันนี้ มีหลายอย่างที่เปลี่ยนไป บางคนก็เลี่ยมแขวนเหมือนแต่ก่อน บางคนเลี่ยมขายโดยการนำพระที่ต้องการจะขายไปเลี่ยมทองเพื่อให้ราคาสูงขึ้นโดยจะได้มูลค่าเพิ่มตรงส่วนต่างของราคา ซึ่งหากขายพระอย่างเดียวก็จะได้กำไรน้อย แต่หากเลี่ยมทองเข้าไปก็จะขายได้ในราคาพระบวกกับราคาทองและส่วนต่างเพิ่มเติม นี่คือการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยและความคิดอ่านของผู้คนในสังคม

วันนี้หยิบพระมาให้ชมกันซักหน่อยแล้วก็อย่างที่เกริ่นนำไปแล้วนั้น พระเลี่ยมทองไม่ได้หมายความว่าจะเป็นพระแท้เสมอไป เพราะคนทั่วไปจะคิดว่าเขาเอาไปเลี่ยมทองแขวนต้องเป็นพระแท้แน่นอน ซึ่งในความจริงแล้วไม่ใช่เลย ผู้เช่าควรจะศึกษาข้อมูลเรื่องพระให้ละเอียดก่อนจ่ายเงิน เพราะบางกรณีนั้นไม่สามารถขายคืนได้เลย นี่จึงเป็นจุดที่ควรระวังเป็นพิเศษ

เข้าเรื่องพระกันบ้าง จากรูป ใบหน้าผิดรูป จมูกโด่ง การประสานมือผิดแบบ ร่องบัวห่าง อย่างนี้คือ “ไม่แท้” จะเช่าพระมาแขวนหรือเก็บสะสม ยังไงก็ต้องเรียนรู้วิธีการดูพระให้แตกฉานในรุ่นที่เราต้องการซะก่อน ไม่งั้นจะมานั่งเสียใจทีหลัง เดี่ยวจะหาว่าไม่เตือน

ด้วยความปรารถนาดี
เอโนนเจริญ

Facebook Comments
แบ่งปันลิงค์นี้ :