web analytics
ชีวประวัติประชาสัมพันธ์

ประวัติพระอาจารย์ อังชัญ บุญมี (ชยธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดดงสะคร่าน ต.วังสวาบ อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น

ประวัติพระอาจารย์ อังชัญ บุญมี (ชยธมฺโม) เจ้าอาวาส วัดดงสะคร่าน ต.วังสวาบ อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น


พระอาจารย์ อังชัญ  อุปสมบท ณ วัดกลางกร่ำ ต.กร่ำ อ.แกลง จ.ระยอง ในปี พ.ศ. 2536 กับพระอุปัชฌาย์คือพระครูประสิทธิธรรมนันท์ เรียนจบสอบนักธรรมเอกได้ เรียนบาลีอีกเป็นเวลา 2 ปี กับเจ้าคณะจังหวัดระยองอีก 2 ปี แต่ไม่สอบ ที่วัดป่าประดู่ หลังเรียนบาลีพอได้ความรู้เป็นอันสมควรแล้วจึงเริ่มเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ ได้เริ่มเดินธุดงค์จากจังหวัดระยอง จันทบุรี มาเข้าปริวาสที่วัดป่าปอแดง และไปจำพรรษาที่วัดป่าลวก จังหวัดชัยภูมิ ก่อนจะหาความรู้กับครูบาอาจารย์ในละแวกนั้น จากนั้นได้มาจำพรรษาที่วัดบ้านพระ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา เป็นเวลา 1 พรรษา แล้วออกจาริกธุดงค์ต่อที่ภูกระดึง แสวงหาที่ปฏิบัติธรรมที่ใด มีครูบาอาจารย์สายกรรมฐานก็ไปศึกษาเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2541 ได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดดงสะคร่าน จนถึงปี พ.ศ.2545 มาเข้าปริวาสที่ จ.ระยอง กับพระอาจารย์มหาชวน วัดพลงช้างเผือก ซึ่งเคยเป็นสหธรรมมิกกันสมัยเรียนที่วัดป่าประดู่ หลังจากออกงานปริวาสจึงได้เดินทางไปกราบฝากตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์นพ วราโภ พร้อมกับพระอาจารย์มหาชวน ที่วัดถ้ำสวนขนุน หลังจากนั้นก็อยู่ปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์นพ ที่วัดถ้ำสวนขนุนระยะหนึ่ง จึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดดงสะคร่าน จนถึงปี พ.ศ. 2547 วัดดงสะคร่านได้จัดงานปริวาสขึ้นเป็นปีแรก จึงได้นิมนต์หลวงพ่อนพ วราโภ กับอาจารย์ไก่ วัดตะเคียนทอง และพระติดตามอีกสองสามรูปมาด้วย พระอาจาร์ทั้งหลายรวมทั้งพระติดตามถึงพรรษามากก็ลงเป็นพระลูกกรรม จึงได้รับการสั่งสอนพระกรรมฐานจากหลวงพ่อนพตลอดระยะเวลางานปริวาส พอจบงานปริวาสก็ยังคงอยู่สั่งสอนต่ออีก 7-8 วัน หลวงพ่อนพจึงชวนให้ออกธุดงค์ด้วยกันต่อที่ จ.เลย ผ่านทาง ภูหอ ภูเรือ ไปหาพระอาจารย์วัด วัดจอมแจ้ง จ.เลย และอยู่ปฏิบัติกันต่ออีก 6-7 วัน จึงออกธุดงค์ต่อไปภาคเหนือ ไปแวะกราบและปฏิบัติกรรมฐานกับหลวงปู่สันติ ที่ดอยแม่สลอง จ.เชียงราย อีกระยะหนึ่ง ก่อนออกธุดงค์ต่อไปที่จ.แม่ฮ่องสอน จนไปพบกับ สามเณรภาส ลูกศิษย์หลวงพ่อนพ เป็นคนกบินบุรี ได้ชวนกันออกธุดงค์หาที่วิเวกปฏิบัติธรรมออกไปประเทศพม่า เลาะแม่น้ำสาละวิน จนไปพบกับครูบาอุทุศนะ ครูบาอาจารย์กรรมฐานผู้มีชื่อของประเทศพม่า ได้อยู่ปฏิบัติธรรมต่อที่วัดท่านอีก 7 วัน จากนั้นจึงล่องเรือข้ามแม่น้ำสาละวิน ไปทำกรรมฐานต่อกันที่ถ้ำพักทัพของพระเจ้าตากอีก 2 เดือน จึงเดินทางกลับสู่ประเทศไทย มาปฏิบัติธรรมต่อกันที่วัดดงสะคร่านอีก 1 เดือน หลังจากนั้นก่อนที่หลวงพ่อนพจะกลับ จ.ระยอง ได้เขียนตระกรุด 12 นักษัตย์มอบไว้ไห้ 1 ดอก ก่อนจะกลับสู่ วัดถ้ำสวนขนุนตามเดิม

งานกฐิน ประจำปี 2559 วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2559

จนเมื่อปี พ.ศ.2548 หลวงพ่อนพ วราโภ ได้ชวนให้ไปปฏิบัติธรรมพระกรรมฐานที่ต้นน้ำคว้านพะเยา จ.พะเยา รอยต่อ จ.เชียงราย อีก 2 เดือน ในระหว่างนี้ได้มีเหตุการณ์สำคัญคือ ระหว่างที่ปฏิบัติกรรมฐานอยู่นี้ ได้มีจิตวิญญาณของอดีตเจ้านายผู้มีบารมีมากในแผ่นดิน 2 ท่าน มากราบหลวงพ่อนพ วราโภ ขอไห้ท่านช่วยชาติหน่อย ท่านจึงถามว่าจะให้ช่วยยังไง จิตวิญญาญเหล่านั้นจึงบอกว่าตอนนี้ประเทศชาติวุ่นวายภาคใต้กำลังเกิดวิกฤติหนักภาวะสงคราม จึงอยากขอให้พระอาจารย์นพ วราโภ ช่วยสร้างพระแจกทหารเพื่อช่วยเหล่าทหาร ท่านจึงตกลงรับคำ หลังจากนั้นระหว่างที่ธุดงค์จึงได้เเสวงหามวลสารทั้งแร่และว่านยาชนิดต่างๆ ทั้งที่ จ.เลย, แร่เหล็กโบราณที่เชียงยืน จ.มหาสารคราม และแร่อึมครึมที่ จ.กาญจนบุรี ในขนะที่ไปเอาแร่ที่กาญนบุรีได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นในขณะที่กำลังเอาแร่ในถ้ำ กล่าวคือ เมื่อออกมาจากถ้ำก็พบกับเหล่าทหาร ตำรวจ อบต. ผู้ไหญ่บ้าน โดยกลุ่มนี้ไม่ยอมให้เอาแร่มา ขณะนั้นมี หลวงพ่อสันต์ วัดเขาตะเเบก และพระที่ถ้ำอีกจำนวนหนึ่ง พระหนีกันกลับหมดเนื่องจากกลัวถูกจับ เหลือเพียง 4 รูป คือ หลวงพ่อนพ วราโภ พระอาจารย์อังชัญ หลวงพี่มหาศักดิ์ หลวงพี่หมี และทิตเนาะอีกคนนึง (ก่อนหน้าที่จะไปเอาแร่หลวงพ่อนพได้เขียนตระกรุดมหาระงับให้พระที่ไป 3 ดอก คือ 1.พระอาจารย์อังชัญ 2.หลวงพี่มหาศักดิ์ 3.หลวงพ่อนพ เอาไว้ไช้เอง ทั้ง 3 ดอกนี้เป็นเนื้อทองแดง) ในขณะที่ถูกล้อมไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะเขาไม่ให้เอาแร่ออกไป หลวงพ่อนพ วราโภ จึงได้ชวนพระอาจารย์อังชัญ ให้อธิฐานตระกรุดมหาระงับพร้อมกันสองดอกคือ ของหลวงพ่อนพดอกหนึ่งและของพระอาจารย์อังชัญอีกดอกหนึ่ง แล้วจึงเข้าไปเจรจากับกลุ่มทางการ ด้วยอานุภาพของตระกรุดมหาระงับ เข้าไปพูดแค่ประโยคเดียว คือบอกว่าจะเอาแร่ไปทำพระแจกทหารไปภาคใต้ ผู้ใหญ่บ้านจึงถวายแร่ก้อนไหญ่ประมาน 50 กิโลกรัม จากนั้นจึงได้นำแร่กลับมาที่วัดถ้ำสวนขนุนเพื่อลงมือทำพระรุ่นแจกทหาร พระอาจารย์อังชัญได้อยู่ที่วัดถ้ำสวนขนุนเพื่อช่วยงานบดมวลสารและว่านต่าง ๆ ในการทำพระรุ่นแจกทหาร รวมแต่ละพิมพ์ ประมาณสองแสนกว่าองค์ พระรุ่นนี้ไช้เวลาทำเป็นระยะเวลาประมาน 2 เดือนกว่าๆ แต่ก็ยังขาดผงและแร่ที่สำคัญในการทำพระรุ่นนี้อีก หลวงพ่อนพ วราโภ จึงได้ชวนพระอาจารอังชัญ ให้ไปหาด้วยกันอีกครั้งที่ จ.พิษณุโลก เมืองสองแคว ที่ถ้ำขุนศึก ในขนะที่กำลังหาทางเข้าถ้ำขุนศึก ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญอีกหนึ่งอย่าง คือ เจอพระเถระรูปหนึ่งที่เป็นพระสุปฏิปัณโณ สายกรรมฐาน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ และหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก เลยเข้าไปกราบท่าน จึงทราบว่าชื่อ หลวงปู่เชิด ท่านได้มาปฏิบัติธรรมปลีกวิเวกอยู่ที่หน้าถ้ำขุนศึกได้หลายปีแล้วจึงได้ขอให้หลวงปู่เชิต เมตตาเขียนตระกรุดให้คนละหนึ่งดอก จากนั้นจึงอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่เชิดอีก 1 คืน พร้อมทั้งเอาผงเมตตาจากถ้ำขุนศึก ก่อนกลับหลวงปู่เชิดได้ถวายผงยาฤาษีมา 1 ถัง และยังแนะนำให้ไปเอาผงยาฤาษีอีกจำนวนหนึ่งที่เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ เพื่อนำไปเป็นมวลสารในการทำพระด้วย ก่อนจะเดินทางต่อไปเพื่อเอามวลสารอื่นๆ อีกมาก เมื่อครบแล้วจึงได้เดินทางกลับวัดถ้ำสวนขนุนเพื่อดำเนินการสร้างพระรุ่นนี้ต่อจนเสร็จ

พระอาจารย์อังชัญ อยู่ช่วยปลุกเสกจนเสร็จจึงได้กลับมาที่วัดดงสะคร่าน นับเวลารวมแล้ว พระอาจารย์อังชัญ เป็นศิษย์หลวงพ่อนพ มาเป็นเวลากว่า 15 ปี เข้าไปแล้ว เรียนรู้ศึกษาวิชากับหลวงพ่อนพ มาโดยตลอด ทั้งเรื่องกรรมฐานและสรรพวิชาต่างๆ นับว่าพระอาจารย์อังชัญกับหลวงพ่อนพมีความสนิทสนมกันในฐานะศิษย์-อาจารย์อย่างมาก ถึงขนาดที่ว่าครั้งนึงที่ไปธุดงค์กับหลวงพ่อนพ ช้างป่า วิ่งเข้าใส่คณะธุดงค์ พระรูปอื่นต่างหนีเอาตัวรอด แต่พระอาจารย์อังชัญ ท่านได้เอาตัวเข้ามายืนขวางฝูงช้างป่า ไม่ให้เข้าถึงตัวหลวงพ่อนพ นี่แสดงถึงความรักของศิษย์อาจารย์อย่างที่สุด ปัจจุบันพระอาจารย์ อังชัญ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดงสะคร่าน ต.วังสวาบ อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2547 มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ทำนุบำรุงวัดและพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง เป็นพระสุปฏิปันโณ ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอีกรูปที่สาธุชนกราบไหว้บูชาได้อย่างสนิทใจครับ

พระอาจารย์อังชัญ ภาพถ่ายเมื่องานกฐิน ประจำปี 2555 ณ ศาลา

ข้อมูลประวัติของพระอาจารย์ อังชัญ บุญมี ที่นำมาเผยแพร่ เปิดเผยจากคำพูดบอกเล่าของท่านอาจารย์ทั้งหมด กลั่นกรองผ่านมาเป็นตัวหนังสือ ไม่ได้แต่งเติมเสริมแต่งใดๆ ทั้งสิ้น วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ ประวัติพระสุปฏิปันโณ อีกรูปที่กราบไหว้บูชาอย่างสนิทใจ

ขอบคุณครับ

เก่งระยอง ผู้พิมพ์ประวัติ

เอ โนนเจริญ ภาพประกอบและเรียบเรียง

Facebook Comments
แบ่งปันลิงค์นี้ :