web analytics
ชีวประวัติประชาสัมพันธ์

สิ้นพระเถระ ๕ แผ่นดิน หลวงปู่สนธิ์ เขมิโย

น้อมกราบหลวงปู่สู่แดนนิพพาน หลวงปู่สนธิ์ เขมิโย อายุ ๑๐๗ ปี ๘๖ พรรษา ละสังขารแล้วเมื่อเวลา ๑๐:๑๐ น. ที่โรงพยาบาลศรีสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

ประวัติหลวงปู่สนธิ์ เขมิโย

หลวงปู่สนธิ์ เขมิโย อายุ ๑o๗ ปี ๘๖ พรรษา พระเถระ ๕ แผ่นดิน อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๑ ปี วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๔๗๔ ณ.วัดจำปา ต.นาเดื่อ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม โดยมีพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการแก้ว รตนวณฺโณ พระกรรมวาจาจารย์ พระเกตุ กตปญฺโญ พระอนุสาวนาจารย์ พระเกิด สีลวณฺโณ เป็นศิษย์สายธรรม หลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโณ ผู้สร้างพระธาตุท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน พระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ และพระพุทธบาทโพนสัน สปปล. พออายุได้ 60-70 ปี ท่านจึงได้เดินทางกลับบ้านเกิด และได้ก่อตั้งวัดอรัญญานาโพธิ์ขึ้น แต่ท่านก็ไม่ได้ก่อสร้างถาวรวัตถุมากมายเหมือนทุกวันนี้ ท่านสร้างเพียงกุฏิสงฆ์ ๕ หลัง ศาลาหอสวดมนต์ ๑ หลัง ถาวรวัตถุ โดยส่วนใหญ่สร้างหลังจากที่ท่านอายุครบ ๑oo ปี

ต่อมาไม่นานมีญาติผู้ใหญ่ฝ่ายพ่อถึงแก่กรรม ไม่มีผู้บวชหน้าไฟให้ พ่อของหลวงปู่สนธิ์จึงขอให้หลวงปู่สนธิ์บวช โดยมีหลวงพ่อแก้วเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเกศเป็นพระกรรมวาจาขวา และหลวงพ่อเกิดเป็นพระกรรมวาจาซ้าย อุปสมบถที่วัดศรีชมชื่น บ้านนาโพธิ์

หลังจากบวชหน้าไฟแล้วหลวงปู่สนธิ์ก็ไม่ได้ลาสิกขาเลย ในช่วงบวชปีแรกมีพระเณรจำพรรษากันเก้ารูปได้ฉายแววความมีอัจฉริยะโดยการเป็นผู้มีมานะ ตื่นแต่เช้า ขยันท่องตำรา จำบทสวดต่างๆ ได้แม่นยำจนหลวงพ่อเจ้าอาวาสชมว่า “พระเณรกลุ่มนี้สู้พระสนธิ์ไม่ได้หรอก” ก็เป็นความจริงดั่งคำที่ท่านกล่าว เพราะในปัจจุบันในเก้ารูปนั้นยังคงเหลือแต่หลวงปู่สนธิ์ ที่ยังครองสมณะเพสอยู่อย่างมั่นคงตราบจนปัจจุบัน

หลังจากจำพรรษาแรก หลวงปู่สนธิ์ได้เดินธุดงค์เท่าเปล่าไปจำพรราาที่วัดตาง ๆ อีกหลายวัดในเขตอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร อำเภอโพนสวรรค์ และอำเภอท่าอุเทน เป็นเวลา แปดพรรษา ช่วงที่จำพรรษาที่อำเภอท่าอุเทน ได้ปวารนาตนเป็นศิษย์หลวงปู่ศรีทัต วัดพระธาตุท่าอุเทน และได้ร่วมสร้างพระธาตุท่าอุเทน พรรษาที่เก้าท่านออกธุดงค์ด้วยเท้าเปล่าแสวงบุญขึ้นไปทางเหนือ ถึงวัดพระบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย และข้ามลำน้ำโขงไปหมู่บ้าน กะลิงหะลัง แขวงเวียงจันทร์ ประเทศลาว จำพรรษาอยู่ ๒ พรรษา แล้วธุดงค์เลียบตามลำน้ำโขงลงไปทางใต้ ถึงภูเขาควายและได้อยู่จำพรรษาที่ภูเขาควายเป็นเวลา ๔ พรรษา หลวงปู่เล่าว่า คืนหนึ่งในเวลาตีสองขณะที่นั้งปฏิบัติธรรมอยู่นั้น ได้มีฝูงสัตว์ป่า มีเสือโคร่ง หมี ได้เข้ามาใกล้บริเวณที่หลวงปู่อยู่ และเสือได้แสดงอาการใช้เท้าครูดกับลานหินคลล้ายเตรียมตะปปเหยื่อ หลวงปู่ได้ภาวนาและแผ่เมตตา ให้ฝูงสัตว์เหล่านั้น ประมาณ ๑oนาทีต่อมาได้มีโขลงช้างป่าส่งเสียงดังก้องป่า ทำให้ฝูงสัตว์ร้ายเหล่านั้นค่อย ๆ ถอยห่างออกไปโดยไม่มีเหตุร้ายใด ๆ เกิดขึ้นเลย

หลังจากจำพรรษาที่ประเทศลาว รวม ๖ พรรษา หลวงปู่ออกธุดงค์ไปทางเหนือของลาวข้ามลำน้ำโขง มาที่อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน แวะจำพรรษาตามที่ต่าง ๆในเขตภาคเหนือ เช่น สามเหลี่ยมทองคำ จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ตาก พิษณุโลก นครสวรรค์ และอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ เดินถุดงค์ลงมาทางภาคกลางที่จังหวัดชัยนาท นครปฐม สิงห์บุรี สระบุรี จนลงมาถึงจังหวัดนครราชสีมา และได้กลับมายังบ้านเกิดเพื่อโปรดโยมพ่อโยมแม่ และญาติพี่น้อง หลังจากนั้นได้เดินทางไปสร้างวัดและจำพรรษา ที่บ้านเปงจาน อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย และได้ทราบข่าวว่าโยมพ่อป่วย จึงเดินทางกลับมายังบ้านนาโพธิ์เพื่อดูแลอาหารป่วยของโยมพ่อ และได้มาสร้างวัดอรัญญานาโพธิ์ขึ้นในปี พ.ศ.๒๕o๙ อยู่จำพรรษาจนถึงปัจจุบัน หลวงปู่สนธิ์เป็นพระที่มีความสมถะ ใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายเวลาเดินธุดงค์จะไม่มีทรัพย์สินมีค่าติดตัว ไม่สวมรองเท้า และบิณฑบาตก็รับแต่พอฉันในแต่ละมื้อเท่านั้นไม่เก็บสิ่งของมีค่า

ด้านปาฏิหารย์ จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน ญาติโยมที่พบเห็นขณะที่หลวงปู่สนธิ์กำลังออกบิณฑบาต ฝนตกปรากฏว่าเม็ดฝนไม่ถูกตัวของหลวงปู่เลย ทั้งที่หลวงปู่สนธิ์ก็ออกเดินบิณฑบาตไปตามปกติ แต่ฝนก็ตกตามหลังไป แต่ไล่ไม่ทันตัวหลวงปู่ ชาวบ้านก็เลยเรียกว่า “ฝนไล่ไม่ทันหลวงปู่” สาธุ สาธุ สาธุ

 

Facebook Comments
แบ่งปันลิงค์นี้ :