web analytics
พระเครื่อง

หลวงปู่ทวด เนื้อว่านจำปาศักดิ์ พระแท้หายากหรือแค่คำลวง

กดหดก

“พระว่านจำปาศักดิ์” มีความเชื่อสืบทอดกันมาว่า โดดเด่นทางด้านมหาอำนาจ มหาอุตม์ แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เมตตา โชคลาภเงินทอง วาสนา หนุนดวง และป้องกันภัยพิบัติต่างๆ ได้ทั้งปวง ตามตำราพิชัยสงครามระบุว่า “ว่าน” เป็น สุดยอดแห่งความมหาอำนาจ คงกระพันชาตรี มหาเสน่ห์ โดยธรรมชาติ นักรบไทยสมัยโบราณ นิยมอาบน้ำว่าน เคี้ยวว่าน หรือ นำว่านมาสอดใส่ในผ้าประเจียดแล้วนำมารัดแขน ก่อนออกศึกทำสงคราม
นักเลงโบราณรุ่นคุณปู่ คุณตา จะพกพา “พระว่านจำปาศักดิ์” ติดตัวเสมอ มีเรื่องเล่าขานเป็นตำนานว่า พระคู่กายของชายชาตรี เห็นที่จะไม่พ้น “พระว่านจำปาศักดิ์”

ในสมัยโบราณ มวลสารส่วนมากจะจะประกอบไปด้วย “มหาว่านต่างๆ” เช่น
มหาว่านทางด้านมหาอำนาจ 108 ชนิด
มหาว่านทางด้านคงกะพันชาตรี 108 ชนิด
มหาว่านทางด้านแคล้วคลาด 108 ชนิด
มหาว่านทางด้านเมตตา มหาเสน่ห์108 ชนิด และ
มหาว่านทางด้านโชคลาภเงินทอง หนุนดวง หนุนชีวิตต่างๆ อีกอย่างละ 108 ชนิด ฯลฯ เป็นต้น
รวมแล้วประมาณ 90 %ส่วนอีก 10 % จะใช้ “ครั่ง” เป็นตัวประสานเนื้อขององค์พระ เนื้อขององค์พระเมื่อแห้งเก่า จะมีน้ำหนักเบามาก แค

หกดหห

หันมาพูดถึงหลวงปู่ทวด ถ้าเห็นพิมพ์อย่างนี้เรามักจะเรียกรวมว่า หลวงปู่ทวดเนื้อว่านจำปาศักดิ์ แต่ก็หาที่มาไม่ได้ แน่นอนว่าที่จริงแล้วยังไม่มีประวัติระบุแน่นอนว่าสร้างที่ไหน อย่างไร เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของมวลสารแล้วพบว่า เกิดจากการผสมของว่านเปียกหรือว่านชุ่มน้ำ ซึ่งเมื่อโดนแดดหรือสูญเสียน้ำก็จะทำให้เนื้อยุบตัว หดตัว อธิบายได้ง่ายๆก็คือ พืชสูญเสียน้ำแล้วคงเหลือแต่ส่วนที่เป็นเส้นใยหรือเนื้อของพืช เพราะฉะนั้นถ้าหากเรานำมวลสารที่มีลักษณะดังกล่าวมาทำพระแล้วนำไปผึ่งแดดให้เกิดความแห้ง ตามหลักการแล้วก็จะเกิดการยุบตัว ไม่นานก็แห้ง ผิวย่น เกิดเป็นริ้วรอยที่ดูเก่า เอาไปทำผิวอีกนิดหน่อยก็จะได้พระพิมพ์ทรงดูเก่าแก่ นี่เป็นหลักการง่ายๆ ของช่างทำพระที่ไม่ต้องใช้ความรู้หรือเทคนิคอะไรมากมายเลย

สรุปสั้นๆ คือ พระพิมพ์อย่างนี้ “ไม่เก่า” และ “ไม่มีประวัติการสร้าง” ที่ระบุได้ชัดเจนว่าสร้างที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร จึงไม่นิยมเล่นหากัน ไม่มีราคาค่างวดที่แพงหรือเป็นพระที่ควรแก่การบูชานัก นอกเสียจากว่าจะนำไปเข้าพิธีปลุกเสกใหม่เท่านั้น

ขอขอบคุณภาพประกอบจากแฟนเพจ

Facebook Comments
แบ่งปันลิงค์นี้ :