web analytics
พระเครื่อง

มาเรียนรู้เกี่ยวกับอัลปาก้ากันดีกว่า

อัลปากา (สเปน: alpaca) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vicugna pacos เป็นสัตว์เลี้ยงในตระกูล อูฐ (camelid) ในทวีปอเมริกาใต้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวยามา อัลปากาเป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นฝูง พบได้ในที่สูงบริเวณแถบเทือกเขาแอนดีส ทางตอนใต้ของประเทศเปรู ตอนเหนือของประเทศโบลิเวีย ประเทศเอกวาดอร์ และตอนเหนือของประเทศชิลี โดยจะอยู่บริเวณที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 3,500 เมตร (11,000 ฟุต) ถึง 5,000 เมตร (16,000 ฟุต)

600px-Alpaca_headshot

อัลปากามีลักษณะคล้ายตัวยามา แต่จะแตกต่างกันตรงที่ไม่ได้นำมาใช้งานขนของ แต่จะถูกเลี้ยงเพื่อนำขนมาทำเป็นเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ขนอัลปากานำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ตั้งแต่ผ้าห่ม เสื้อหนาว หมวก ถุงมือ ผ้าพันคอ และเครื่องนุ่งห่มประเภทต่าง ๆ โดยขนของอัลปากาตามธรรมชาติมีหลายสี โดยในเปรูมีการจำแนกสีขนออกเป็น 52 สี ขณะที่ทางออสเตรเลียจำแนกไว้ 12 สี และสหรัฐอเมริกาจำแนกเป็น 16 สี
http://th.wikipedia.org/wiki/อัลปากา

อัลปาก้า หรือ เงินนิกเกิล  คือ โลหะผสมของทองแดงกับนิกเกิลและสังกะสีรวมอยู่ โดยส่วนผสมพื้นฐานจะอยู่ที่ ทองแดง 60% นิกเกิล 20% และสังกะสี 20% เงินนิกเกิลในสมัยใหม่ที่มีระบุไว้ในมาตรฐาน ASTM B122 ที่มีส่วนผสมของสังกะสีจำนวนมาก จะถูกจัดอยู่ในประเภทย่อยของทองเหลือง

“อัลปาก้า” คำนี้มาจากภาษาอังกฤษว่า ALPACCA ซึ่งจะมีตัว C 2 ตัว แต่ถ้ามีตัว C ตัวเดียวไม่ได้หมายถึงโลหะอัลปาก้า แต่เป็นตัวสัตว์ขนยาวชนิดหนึ่งของอเมริกา ว่ากันว่าคล้ายอูฐ ความจริง อัลปาก้า เป็นโลหะผสม เราจะเรียกสัมฤทธิ์ก็น่าจะได้ เนื่องจากมีทองแดงผสมอยู่ด้วย บางท่านว่ามีแต่ทองเหลืองไม่มีทองแดง แต่ความจริงทองเหลืองก็คือ ทองแดงผสมกับสังกะสี ดังนั้น อัลปาก้าจึงมีทองแดงอยู่ไม่มากก็น้อยแน่นอน ชาวจีนจึงเรียกโลหะนี้ว่า ทองแดงขาว

คนไทยรู้จักอัลปาก้าเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะทองคำและเงินมีราคาแพงมาก อีกทั้งเงินมีความอ่อนเกินไป ไม่เหมาะจะนำมาทำวัสดุเครื่องใช้ และเงินมีสนิมดำ ยากแก่การดูแล ชาวยุโรปก็เลยคิดโลหะผสมใหม่ โดยเอาทองเหลืองและทองแดงผสมกับนิเกิล (Nickel) ที่มีความแข็งกว่า และมีสนิมน้อยกว่าเงินผสมลงไป นิเกิลนั้นมีความวาวคล้ายเงินแต่ไม่หมองง่ายๆ แต่ปัญหาคือ นิเกิลมีจุดหลอมละลายสูงมาก คือที่ 1,453 องศาเซลเซียส ต่างจากเงินมาก การผสมให้เข้ากันกับทองแดง ทองเหลือง และธาตุอื่นๆ จึงไม่ใช่เรื่องง่าย หากควบคุมอุณหภูมิไม่ดีก้จะแตกร้าวได้ (สังเกตพระที่สร้างจากอัลปาก้ามักมีรอยแตกร้าวบ่อยๆ) แต่ถ้าผสมดีก็จะเป็นโลหะที่มีความเหนียวและคงทนกว่าเงินและสัมฤทธิ์เสียอีก

คนไทยนิยมเรียกอัลปาก้าว่าทองเหลืองขาว เพราะออกขาวๆเหลืองๆ หรือบางทีเรียก “เนื้อช้อนส้อม” เพราะช้อนส้อมที่ทำจากอัลปาก้า ได้รับความนิยมมากระยะหนึ่ง โดยชื่อ “อัลปาก้า” ว่ากันว่ามาจากแบรนด์สินค้าหนึ่งจากยุโรป สะกดว่า “ALPACCA” คนไทยโดยเฉพาะชาวพระเครื่องก็เลยเรียกทับศัพท์โลหะแบบนี้ตามชื่อแบรนด์สินค้าเดิม (ปัจจุบันแบรนด์นี้ไม่ค่อยได้พบเห็นแล้ว)

พอรู้แล้วว่าอัลปาก้าเป็นการผสมของโลหะชนิดใด ทีนี้เราก็จะรู้ว่าความแข็งของอัลปาก้าและลักษณะของพระเครื่องที่ทำจากเนื้ออัลปาก้าควรจะเป็นอย่างไร ขอขอบคุณทุกๆ บทความที่ได้นำมารวบรวมในลิงค์นี้ ขอผลบุญแห่งวิทยาทานจกตกแก่ท่านด้วยเทอญ..

Facebook Comments
แบ่งปันลิงค์นี้ :